โรคปริทันต์ ปัญหาเกี่ยวกับเงือก ที่ควรระวัง

เรามักไปหาทันตแพทย์เพราะปัญหาภายในช่องปาก ซึ่งส่วนมากเกี่ยวข้องกับฟัน แต่คุณทราบไหมว่า “เหงือก” ที่มีหน้าที่ยึดฟันเพื่อรองรับฟันนั้นก็มีความสำคัญ หากเหงือกมีปัญหาคุณอาจจะโดนถือฟันได้ เหงือกควรได้รับการดูแลเช่นเดียวกับฟัน มาทำความรู้จักโรคที่เกี่ยวกับเหงือก สาเหตุและวิธีป้องกัน

โรคเหงือกคืออะไร 

โรคเหงือกอักเสบ หรือโรคปริทันต์คือ การอักเสบของเหงือกที่สามารถพัฒนาไปเป็นการติดเชื้อที่กระดูกที่ยึดติดฟันและบริเวณใกล้เคียง โรคเหงือกเกิดจากแบคทีเรียซึ่งเป็นเหมือนฟิล์มที่ใสที่เกาะอยู่บนตัวฟัน ถ้าไม่ทำความสะอาดออกไปทุกวันด้วยการแปรงฟันและขัดฟัน คราบแบคทีเรียก็จะสะสม และไม่เพียงแค่เหงือกและฟันก็จะติดเชื้อ แต่รวมถึงเนื้อเยื่อและกระดูกที่ยึดติดกับฟันด้วย ซึ่งอาจทำให้ฟันโยก หลุด หรือต้องถูกถอนออกไป 

โรคเหงือกอักเสบ แบ่งเป็น 3 ระยะ 

  1. อาการเหงือกอักเสบ : การอักเสบของเหงือกที่เกิดจากคราบแบคทีเรียสะสมตามร่องเหงือกนี้ ถ้าการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันทุกวันไม่สามารถขจัดคราบแบคทีเรียได้ทั้งหมด ก็จะทำให้เกิดสารพิษที่จะทำลายเนื้อเยื่อเหงือก และเกิดเหงือกอักเสบ อาจมีการเลือดออกขณะแปรงฟันหรือขัดฟัน ในระยะเริ่มแรกนี้ อาการสามารถรักษาให้หายได้ 
  2. อาการปริทันต์ : กระดูกและเส้นใยที่คอยยึดฟันไว้จะถูกทำลายไปแล้ว ร่องเหงือกจะกลายเป็นโพรงที่เศษอาหารและหินปูนจะเข้ามาสะสม การรักษาและการดูแลที่ถูกต้องจะช่วยลดความเสียหายได้
  3. อาการปริทันต์ขั้นรุนแรง : กระดูกและเส้นใยที่คอยยึดฟันไว้จะถูกทำลายไปแล้ว และทำให้ฟันโยก ซึ่งจะส่งผลต่อการเคี้ยว ถ้าไม่ได้รับการรักษาแบบทันท่วงที อาจจะต้องถอนฟันในที่สุด

สาเหตุของโรคเหงือกคือะไร? 

  1. แปรงฟันไม่หมดหรือแปรงฟันไม่ถูกวิธี ทำให้แผ่นคราบจุลินทรีย์สะสมอยู่บนตัวฟัน
  2. มีหินปูนหรือหินน้ำลายที่
  3. มีฟันเก หรือใส่ฟันปลอมที่หลวมหรือแน่นเกินไป
  4. มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคเลือด หรือได้รับยารักษาโรคบางชนิด 
  5. สูบบุหรี่ หรือเคี้ยวหมากฝรั่ง

อาการของโรคคืออะไร? 

อาการที่พบบ่อยและควรไปพบแพทย์มีดังนี้ 

  • เหงือกบวมแดง 
  • เลือดออกตามไรฟันเมื่อแปรงฟันหรือเคี้ยวอาหารแข็ง 
  • เหงือกร่น 
  • เหงือกระบม 
  • เกิดร่องลึกปริทันต์ 
  • มีหนองในร่องเหงือก 
  • มีกลิ่นปากเรื้อรัง 
  • ปวดในช่องปากไม่หาย 
  • ฟันเริ่มเรียงตัวผิดปกติ 

การรักษา 

ระยะเริ่มแรกของโรคเหงือกสามารถรักษาได้ด้วยการแปรงฟันให้ถูกวิธี เพื่อขจัดแผ่นคราบจุลินทรีย์และสิ่งสกปรก แต่สามารถจะกลับเป็นซ้ำอีกได้  

การป้องกัน 

  1. ขูดหินปูนสม่ำเสมอ
  2. แปรงฟันอย่างถูกวิธี ด้วยแปรงขนนุ่มและยาสีฟันผสมฟลูออไรด์
  3. ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันทุกครั้งหลังจากแปรงฟันเสร็จแล้ว
  4. ดูแลทำความสะอาดช่องปากโดยทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นทางเดียวที่จะขจัดคราบแบคทีเรียที่สะสม และแข็งตัว โดยทันตแพทย์จะทำการขูดหินปูนที่แข็งตัวออกจากฟันและร่องเหงือก ถ้ามีอาการมาก อาจจะต้องทำการรักษารากฟัน ซึ่งจะช่วยดูแลรากฟันไม่ให้หินปูนเข้าไปสะสมได้ง่าย
  5. ควรไปพบทันตแพทย์ ปีละ2ครั้ง หรืออย่างน้อยปีละครั้ง