มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นโรคมะเร็งอันดับ 3 ที่ทำให้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งทั้งหมดทั่วโลก โดยในประเทศไทยพบได้บ่อยในผู้ชายเป็นอันดับ 6 ส่วนผู้หญิงเป็นอันดับ 9 โดยส่วนใหญ่มักจะตรวจพบเมื่ออาการเข้าสู่ระยะสุดท้าย โดยสาเหตุหลัก ๆ ก็คือเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori เพราะจะทำให้กระเพาะอักเสบเรื้อรัง แต่ไม่มีการแสดงอาการออกมาจึงทำให้มีความเสี่ยงที่จะพัฒนาเป็นแผลในกระเพาะอาหารมากขึ้น ดังนั้นควรดูแลป้องกันให้ดี สังเกตอาการอยู่เป็นประจำ หากมีอาการผิดปกติไม่ควรปล่อยทิ้งไหว้ควรไปเข้ารับการตรวจโดยทันที
ปัจจัยเสี่ยงต่อ มะเร็งกระเพาะอาหาร
- ยิ่งอายุมากขึ้นความเสี่ยงต่อโรคก็จะสูงตามไปด้วย โดยเฉพาะหากมีอายุเกิน 55 ปีขึ้นไป
- ผู้ชายมีความเสี่ยงต่อโรคสูงกว่าผู้หญิงถึง 2 เท่า
- คนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
- คนเอเชียมีความเสี่ยงมากกว่าชาวยุโรปหรืออเมริกา ที่มีผิวขาว
- ผู้ที่ชอบทานอาหาร หมักดอง ตากเค็ม รมควัน หากเปลี่ยนไปทานผักและผลไม้สดอาจช่วยลดความเสี่ยงลงได้
- ติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori ซึ่งทำให้เกิดแผล และการอักเสบในกระเพาะอาหาร ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งชนิดนี้
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง โรคโลหิตจางบางชนิด
- ผู้ที่เคยผ่าตัดกระเพาะอาหาร
- ผู้ที่ต้องสัมผัสกับฝุ่น และสารเคมีบ่อย ๆ
- การสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ เป็นประจำ
- ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานก็มีความเสี่ยงต่อโรคโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมากขึ้น
ใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจหา มะเร็งกระเพาะอาหาร
- ผู้ที่โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก เช่น ปวดท้องเรื้อรัง ท้องอืด เบื่ออาหาร เป็นต้น
- ผู้ที่มีอาการเกี่ยวกับโรคแผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก เช่น ปวดท้อง ท้องอืด มีลมในท้อง เบื่ออาหาร รวมไปถึง ผู้ที่เคยเป็นแผลในระบบทางเดินอาหาร
- ผู้ที่คนในครอบครัวมีประวัติเกี่ยวกับโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
อาการที่บอกว่าอาจมีความเสี่ยงเป็น มะเร็งกระเพาะอาหาร
- เวลาถ่ายมีเลือดปนอุจจาระ
- ปวดท้องเรื้อรัง ปวดตลอดเวลา
- อาเจียนบ่อย หรืออาเจียนติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
- รู้สึกแสบร้อนบริเวณหน้าอก
- มีอาการอาหารไม่ย่อยเป็นประจำ
มะเร็งกระเพาะอาหาร ในปัจจุบันหากเป็นกรณีที่เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันยังไม่มีวิธีการป้องกันที่ชัดเจน แต่วิธีที่ดีที่สุดควรเข้ารับการคัดกรอง โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 55 ขึ้นไป ซึ่งหากพบเจอในระยะแรกก็สามารถรักษาได้ แต่ทางที่ดีที่สุดก็คือ ลดปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะพฤติกรรมการทาน หากพบอาการผิดปกติอย่างที่ได้กล่าวไปก็รับเข้ารับการวินิจฉัยโดยทันที