7 ผลไล้ล่าสุดที่ได้ขึ้นทะเบียน GI จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ทยอยขึ้นทะเบียนสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย

7 สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนล่าสุดจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่ 

1.ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง  

เป็นลิ้นจี่ที่ปลูกได้ในพื้นที่อำเภอฝาง แม่อาย และไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ มีลักษณะเด่น คือผลใหญ่ คล้ายรูปหัวใจ ผิวเปลือกสีแดงอมชมพู เนื้อหนา เมล็ดมีขนาดเล็ก รสชาติหวานอมเปรี้ยวและมีกลิ่นหอม ผลผลิตจะออกสู่ตลาดในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี 

2.ส้มสายน้ำผึ้งฝาง 

เป็นส้มที่ปลูกในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีลักษณะเด่นคือ เปลือกบาง ผิวเรียบเป็นมันเงา ผมกลมแป้น เมื่อสุกแล้วจะมีสีเหลืองอมส้มสวย มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม ออกผลในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี 

3.ส้มควายภูเก็ต 

เป็นส้มที่ปลูกจังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีสภาพฝนตกชุกตลอดปี มีลักษณะผลกลม ร่องผิวเปลือกตื้น เนื้อละเอียด หนา แน่น รสชาตเปรี้ยวจัด สามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี สามารถจัดจำหน่ายได้ทั้งแบบสด แบบแห้ง และแบบผง แล้วยังมาแปรรูปเป็นอาหารพื้นเมืองและยังนำมาเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเวชสำอางคได้ 

4.ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด 

เป็นทุเรียนที่ปลูกบริเวณแนวเทือกเขาบรรทัด ซึ่งมีลักษณะดินร่วน ระบายน้ำได้ดี เป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง เปลือกผิวสีเขียวปนน้ำตาล ปลายหนามแข็งแรงและแหลมคม เนื้อทุเรียนสีเหลืองอ่อน หนา มีรสชาติหวาน มัน ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัดจะออกผลผลิตภัณฑ์ให้เก็บเกี่ยวก่อนพื้นที่อื่น  

5.กล้วยหอมทองเพชรบุรี 

เป็นกล้วยหอมที่ปลูกในจังหวัดเพชรบุรี ลักษณะเด่นคือเปลือกบาง เนื้อเนียนละเอียด ละมุน นุ่มฟู ไส้ไม่ฉ่ำน้ำ รสชาติหวาน  

6.ปลิงทะเลเกาะยาว 

เป็นปลิงที่ทะเลที่เพาะเลี้ยงในบอ่ดินที่มีลักษณะดินปนทราย พื้นที่เพาะเลี้ยงครอบคลุมพื้นที่อำเภอเกาะยาวที่ตั้งอยู่ในอ่าวพังงา ลักษณะเด่น มีขนาดตัวใหญ่ เนื้อแน่น และตัวหนากว่าปลิงทะเลที่เลี้ยงด้วยวิธีอื่นๆหรือจากแหล่งผลิตอื่น นิยมนำมาใช้บริโภคและเป็นวัตถุดิบในการผลิตยาและอาหารเสริม มีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย สร้างภูมิคุ้มกัน 

7.ทุเรียนหมอนทองระยอง 

เป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ที่ปลูกในจังหวัดระยอง มีลักษณะเด่น เปลือกบาง แยกเป็นพูชัดเจน เนื้อหนาละเอียด สีเหลืองนวล แห้ง เหนียว เส้นใยน้อย กลิ่นหอมอ่อน รสหวานมัน เก็บเกี่ยวในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์-เดือนกรกฎาคม 

ปัจจุบันประเทสไทยได้มีสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด หากมีโอกาสไปเที่ยวจังหวัดต่างๆลองหาสินค้า GI มาบริโภค หรือมาใช้กันบ้าง เป็นการช่วงส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากของไทย