รับมืออย่างไรเมื่อลูกไม่อยากไปโรงเรียน

การที่ลูกไม่อยากไปโรงเรียนเป็นปัญหาที่หลายครอบครัวต้องเผชิญ เด็กบางคนอาจรู้สึกเครียด กังวล หรือไม่สบายใจเมื่อต้องเผชิญกับสิ่งแวดล้อมใหม่ การเข้าใจสาเหตุและหาวิธีพูดคุยเพื่อกระตุ้นให้ลูกกลับมาชอบโรงเรียนเป็นเรื่องที่สำคัญ

ทำอย่างไรเมื่อลูกไม่อยากไปโรงเรียน 

การที่เด็กไม่อยากไปโรงเรียนเป็นปัญหาที่คุณพ่อ-คุณแม่ส่วนใหญ่เจออย่างแน่นอน ดังนั้นจึงควรมีวิธีรับมือ 

1.ฟังและเข้าใจความรู้สึกของลูก

สิ่งแรกที่พ่อแม่ควรทำคือการรับฟังและเข้าใจความรู้สึกของลูกอย่างจริงจัง คำถามที่ดีในการเริ่มต้นคือ “ลูกไม่อยากไปโรงเรียนเพราะอะไร?” หรือ “มีอะไรที่ทำให้ลูกไม่สบายใจในโรงเรียนหรือเปล่า?” การฟังและแสดงความสนใจอย่างจริงใจจะช่วยให้ลูกเปิดใจ หลังจากฟังปัญหาแล้ว การแสดงความเข้าใจนี้จะทำให้ลูกรู้สึกว่าไม่ได้ถูกทิ้งและมีคนอยู่ข้างเขา  

2.พูดถึงข้อดีของการไปโรงเรียน

เป็นการช่วยกระตุ้นให้ลูกเกิดความสนใจใหม่ ๆ เช่น “ถ้าลูกไปโรงเรียน ลูกจะได้เจอเพื่อนใหม่ ๆ” หรือ “การไปโรงเรียนจะทำให้ลูกได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ” การทำให้ลูกมองเห็นสิ่งดี ๆ ที่รอคอยพวกเขาที่โรงเรียน 

3.ให้ลูกมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

การให้ลูกมีส่วนร่วมเกี่ยวกับเรื่องการไปโรงเรียน เช่น เลือกของใช้ที่ชอบ จะทำให้ลูกมีความรู้สึกว่าตนเองมีสิทธิและมีความสำคัญในกระบวนการนี้ 

4.ปรับเปลี่ยนทัศนคติของลูก

พ่อแม่ควรเปลี่ยนความคิดผิดๆของลูกเกี่ยวกับโรงเรียน ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษาและการเรียนรู้ เช่น “การเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้ลูกมีอนาคตที่ดี” หรือ “โรงเรียนเป็นที่ที่ลูกจะได้เรียนรู้สิ่งที่ลูกชอบและพัฒนาทักษะใหม่ ๆจะช่วยให้ลูกมีมุมมองใหม่และรู้สึกว่าการไปโรงเรียนเป็นสิ่งที่มีคุณค่า 

5.ให้รางวัลและการส่งเสริมในทางบวก

การให้รางวัลและการส่งเสริมในทางบวกเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้ลูกอยากไปโรงเรียนมากขึ้น เช่น การให้คำชมเชยหรือการให้ของรางวัลที่ลูกชอบ จะช่วยกระตุ้นให้ลูกมีแรงจูงใจในการไปโรงเรียนมากขึ้น 

6.สร้างกิจวัตรประจำวันเพื่อเพิ่มความมั่นคง

พ่อแม่ควรทำให้กิจวัตรประจำวันเป็นเรื่องที่มีความสุข เช่น เตรียมอาหารเช้าที่ลูกชอบหรือการมีเวลาพูดคุยก่อนนอนเกี่ยวกับเรื่องราวดี ๆ ที่เกิดขึ้นในโรงเรียน 

การพูดคุยและใช้เทคนิคเหล่านี้จะช่วยให้ลูกมีความสุขและชอบไปโรงเรียนมากขึ้น การให้ความสำคัญกับความรู้สึกและความต้องการของลูกจะเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหาและส่งเสริมให้ลูกมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้และการไปโรงเรียน